วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 ความรู้จากการเรียน

Blog สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน การจัดการความรู้และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีเราสามารถสร้าง Blog ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันได้มีการจัดสร้าง Website เพื่อรองรับการสร้าง Blog โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด เช่น www.blogspot.com/ สำหรับการนำเสนอบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ สำหรับส่งเสริมการเรียนการสอน

การใช้ Blog สนับสนุนการเรียนการสอน จะช่วยให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย นอกจากนี้ Blog ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผลงานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี การพัฒนาความรู้ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง Blog เพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 4 สารสนเทศโรงเรียนวัดนิคมคีรี

ในการจัดการเรียนการสอนข้าพเจ้าได้ใช้
1.ระบบบริหารจัดการแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นระบบเพื่อการประเมินนักเรียนจากสภาพจริง เป็นระบบที่สามารถเก็บรวบรวมผลงานของนักเรียนและครูผู้สอน รวมถึงประวัติการเรียนการสอนต่างๆทั้งของครูและนักเรียน เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น

11 ส่วนประกอบของระบบจัดการแฟ้มสะสมงาน Portfolio จะประกอบด้วย

* ระบบแฟ้มผลงาน ที่เป็นประวัติส่วนตัวของนักเรียนและครูผู้สอน ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน การหยุดงาน การอบรม การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
* ระบบจัดเก็บผลงาน ซึ่งเป็นระบบที่สามารถจัดเก็บเอกสารได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เก็บเป็บภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
* ระบบการประเมินผลชิ้นงาน มีระบบการส่งงานในแฟ้มผลงานให้ครูตรวจผ่านระบบบริหารการเรียนการสอน
* มีระบบการลงคะแนน Vote และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าเยี่ยมชม
* มีระบบแสดงสถิติการเข้าชม แฟ้มสะสมงานเป็นรายบุคคล
* มีระบบการแสดงผลงาน โดยการสุ่มผลงานของผลใช้งานแสดงในหน้าเว็บไซด์ และมีระบบการบันทึกผลงานในรูปแบบสื่อCD Rom สามารถใช้ในการสำรองข้อมูลได้
* มีระบบสามารถเชื่อมโยงกับระบบการเรียนการสอนได้
* สามารถบริหารจัดการเนื้อหาสาระหน้าหลักได้อย่างอิสระเป็นรายบุคคล เช่น กระดานข่าว การดาวน์โหลด ระบบกรองคำหยาบ ฯลฯ
* มีระบบแฟ้มผลงานของนักเรียน เพื่อรองรับการประเมินการเรียนสภาพจริง โดยนักเรียนสามารถส่งงานผ่านระบบแฟ้มผลงานได้

1.2 การออกแบบนำข้อมูลเข้า(Input Design) ใน การพัฒนาระบบบริหารจัดการแฟ้มสะสมงาน Portfolio นี้ การพัฒนาจะเน้นที่การออกแบบ Portfolio ที่แตกต่างไปจากระบบอื่นๆ โดยนำเอารูปแบบของ hi5 ซึ่งเป็น Blog ที่กำลังได้ความนิยมในหมู่วัยรุ่น และจะเน้นความเรียบง่าย ทันสมัย ซึ่งการออกแบบคำนึงถึงรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน การนำเข้าข้อมูล เมื่อผู้ใช้เป็นเจ้าของ Portfolio ผู้ใช้สามารถเข้าไปจัดการข้อมูลส่วนตัวได้เลย

1.3 การออกแบบจอภาพ (Output Design) ในการพัฒนา นี้ใช้หลักการพัฒนา Portfolio ที่เน้นให้ Portfolio มีการแสดงผลที่แตกต่างไปจากระบบอื่นๆโดยเน้นรูปแบบของ hi5 ซึ่งเป็นทางแบบBlog ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ลักษณะการใช้งานเรียบง่าย และทันสมัยนิยม การออกแบบระบบPortfolio จะออกแบบให้มีโครงสร้าง 5 ส่วน คือ ส่วนชื่อแฟ้ม ส่วนข้อมูลส่วนตัว ส่วนแสดงเนื้อหา ส่วนเมนู และส่วนท้าย ซึ่งแต่ละส่วนจะประกอบด้วยไฟล์โปรแกรม 1ไฟล์ ดังรายละเอียดของแต่ละส่วน นี้

ส่วนชื่อแฟ้ม เป็นส่วนที่แสดงชื่อแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ใช้ที่อยู่ในโรงเรียน เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบ และใช้ในการดูข้อมูล

ส่วนข้อมูลส่วนตัว ส่วนนี้ใช้แสดงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ครูและนักเรียน ซึ่งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ นามสกุล รูปภาพ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ ฯลฯ เจ้าของBlog สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้

ส่วนแสดงเนื้อหา พื้นที่นี้ใช้แสดงเนื้อหาสาระต่างๆ ภายในBlog เช่น ข่าว กิจกรรมต่างๆ แฟ้มสะสมงาน ประวัติการดูงานการอบรม กระดานสนทนา รูปภาพ

ส่วนเมนู เป็นส่วนที่ใช้แสดงเนื้อหา เช่น แสดงภาพกิจกรรม แสดงข่าวล่าสุดของระบบหลัก แสดงแบบสำรวจความคิดเห็น และแสดงสถิติการเยี่ยมชม

ส่วนท้าย เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับBlog ซึ่งเป็นข้อมูลตามที่เจ้าของBlogต้องการใส่เนื้อหา

1.4 การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design ) ในระบบPortfolio การ ออกแบบ ฐานข้อมูลจะออกแบบโครงสร้างระบบฐานข้อมูลในลักษณะของ Unified Modeling Language (UML) ในส่วนของ Use Case Diagram และ Entity Relationship Model จะนำโครงสร้างการออกแบบนี้ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบPortfolio
จากเว็ปไซด์ ที่ข้าพเจ้าได้จัดทำ http://www1.skz2.go.th/krunid/

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล




  ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ งานวิจัย Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญา ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยในหน่วยงานต่าง ๆ ครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวด เร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงขอสรุปการใช้งานโปรแกรม SPSS ดังนี้
1. การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS
    - ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือคลิกที่ปุ่ม Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม SPSS
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
    - การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถามได้ลงในโปรแกรม SPSS ซึ่งในส่วนนี้จะประกอบด้วย
          * Data View
          * Variable View
     การสร้างแฟ้มข้อมูล Data Editor Variable View จะปรากฏดังนี้
          1. การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
               1. Name ตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
               2. Type กำหนดชนิดของตัวแปร
               3.Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
               4.Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมี Comma หนึ่งอัน สำหรับคั่นทศนิยม
               5.Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
               6.Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
               7.Label ส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษร เพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
               8.Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
               9.Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
              10.Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
              11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ

3. การพิมพ์ค่าข้อมูล  Data View
     เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาที่ Data View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้ตอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกฉบับ  และบันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วยคำสั่ง File Save
4.  การวิเคราะห์ข้อมูล
     เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน มีวิธีการ  ดังนี้
     -  คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือกคลิก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น
     -  การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น วิธีการทางสถิติที่นิยมใช้กันมาก คือ
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางหลายทาง
             - การแจกแจงความถี่ในรูปของกราฟ
             - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาโดยโปรแกรม SPSS
5.  การแจกแจงความถี่ในรูปของตารางทางเดียว
     เป็นการแจกแจงข้อมูลโดยใช้ ตัวแปรเพียงตัวเดียว มีขั้นตอน  ดังนี้
          1. เลือกคลิกเมนูและคำสั่งตามลำดับ ดังนี้ Analyze Frequencies จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies ดังนี้ Descriptive Statistics
         2. เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบล์อคของ Variable(s)
         3. คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output

          ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS Valid คือ ข้อมูลที่นำมาแจกแจงความถี่    
          Missing คือ ข้อมูลที่ขาดหายไปหรือไม่สมบูรณ์
         Total คือ ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาแจกแจงความถี่
          Frequency คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้
          Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวน หรือความถี่ที่นับได้ ในรูปร้อยละ
          Valid Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนที่นับได้ในรูปร้อยละ โดยไม่นำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
          Cumulative Percent คือ ค่าที่แสดงจำนวนสะสมในรูปร้อยละ โดยนำจำนวนข้อมูลที่เป็น missing มารวม
6.  ความหมายของผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม SPSS
          - การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น
          - การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
          - ค่าเฉลี่ย (Mean)
          - ฐานนิยม (Mode)
          - มัธยฐาน (Median)
          - การวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล
          - พิสัย (Range)
          - ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Average Deviation)
          - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
          - สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation)